วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


วิธีการจับเส้น

วิธีการจำเส้น

การจับเส้นที่เรียนมามีทั้งหมด ๙ จุด

จุดที่ ๑. นิ้วมือ

วิธีการจับ เอานิ้วโป้งซ้ายกดข้อนิ้วมือของผู้ป่วย แล้วเอามือขวาจับนิ้วมือของผู้ป่วยแล้วดึง ค่อยๆหมุนไปทางซ้ายแล้วหมุนไปทางขวาแล้วหมุนกลับมาที่ตรงกลาง แล้วดันเข้าไป และดึงออกมาอีกที (หมายเหตุ)นวดเฉเพาะนิ้วมือที่เจ็บจากการล้มหรืออื่นๆ


จุดที่ ๒. ข้อมือ

วิธีการจับ เอามือ ๒ ข้างจับข้อมือของผู้ป่วยแล้วใช้นิ้วโป้ง ๒ ข้าง กดหลังข้อมือ แล้วค่อยขยับไปทางซ้ายทีทางขวาทีแล้วยกขึ้นให้อยู่ในลักษณะข้อมืองอแล้วกดลง ความแรงพอประมาณ (หมายเหตุ)นวดเฉเพาะนิ้วมือที่เจ็บจากการล้มหรืออื่นๆ


จุดที่ ๓. ข้อศอก

วิธีการจับ ให้ผู้ป่วยหงายมือออกมา แล้วเอามือขวาของเราจับนิ้วก้อยของผู้ป่วย แล้วเอามือซ้ายของเราอีกข้าง จับข้อศอกของผู้ป่วยให้อยู่ในลักษณะข้อศอกงอ แล้วใช้นิ้วโป้งมือขวาของเราให้กดเส้นเอนของนิ้วก้อยผู้ป่วย ถ้ากดถูกแล้วมือซ้ายของเราให้ค่อยๆดึงนิ้วก้อยของผู้ป่วย จากนั้นให้เลื่อนขึ้นไปให้อยู่ในลักษณะเหมือนกันให้ครบทั้ง ๕ นิ้ว (เริ่มจากนิ้วก้อยก่อน) ถ้าเป็นการจับเส้นข้อศอกขวาให้เปลี่ยนมือสลับกัน


จุดที่ ๔. หัวไหล่

วิธีการจับ การจับเส้นไหล่นั้น ให้ผู้ป่วยนั่งอยู่ในลักษณะตัวตรง เอามือขวาของเราจับข้อมือของผู้ป่วยให้อยู่ในลักษณะข้อศอกงอ แล้วมือซ้ายของเราจับหัวไหล่โดยใช้นิ้วโป้งกดด้านในหัวไหล่ของผู้ป่วย แล้วนิ้วกลางกดด้านหลังของผู้ป่วยแล้วค่อยๆบีบเลื่อนไปช้าๆ มือข้างขวาของเราที่จับข้อมือให้ยกขึ้นและหมุนแขนในตำแหน่งต่างๆ มีดังนี้ (๑) ดึงมา (๒) ยกขึ้น (๓) ดันไปข้างหลังแล้วหมุนไปให้ครบรอบ


จุดที่ ๕. สันหลัง

วิธีการจับ การจับสันหลัง ให้ผู้ป่วยนั่งอยู่ในลักษณะตัวตรง เอามือข้างซ้ายของเราจับที่ไหล่ของผู้ป่วยโดยใช้นิ้วโป้งกดตรงที่เส้นเอน แผ่นหลัง เอามือขวาของเรากดที่เส้นเอนของผู้ป่วยโดย ใช้นิ้วกลางแล้วเขี่ยออกไปด้านกระดูกสันหลัง


จุดที่ ๖. เอน

วิธีการจับ การจับเส้นเอนนั้นต้องให้ผู้ป่วยนอนคว่ำ เอานี้วกลางกดตรงเส้นเอนสันหลังซึ่งอยู่ตรง
กับขอบกางเกงถ้าพบว่าเส้นเอนแข็งให้กดเส้นเอนแล้วเขี่ยห่างออกจาก จากกระดูกสันหลัง ในระดับเบาๆแล้วค่อยๆกดให้แรงขึ้นจนกว่าเส้นเอนจะอ่อนตัวลงเมื่อเส้นเอนอ่อน ตัวลงแล้วใช้ฝ่ามือนวด ตรงบริเวณ นั้นเบาๆ


จุดที่ ๗. หัวเข่า

วิธีการจับ ให้ผู้ป่วยวางเท้าในตำแหน่งตรงๆเอามือสองข้างจับตรงเข้าไว้ นิ้วโป้งกดตรงบริเวณหัวเข่า ส่วนนิ้วชี้นิ้วกลางอยู่ใต้หัวเข่า ให้กดเส้นใต้เข่าไว้ จับให้แน่นแล้วโยกซ้ายทีขวาทีในขณะโยกให้นิ้วโป้งทั้งสองไหลมาอยู่ข้างหัว เข่าแล้วกดลงหนึ่งครั้งแล้วนวดบริเวณหัวเข่า


จุดที่ ๘. ข้อเท้า

วิธีการจับ เอามือทั้ง ๒ ข้างจับข้อเท้าไว้ให้แน่นและดึงให้ตึงเอานิ้วโป้งกดทั้งสองกดข้อเท้าด้านใน จุดที่เลื่อนได้ให้ข้อเท้าส่วนฝ่าเท้าหมุนไปทางขวาแล้วกดลงแล้ว หงายขึ้นทันทีหนึ่งครั้ง


จุดที่ ๙. นิ้วเท้า

วิธีการจับ เอานิ้วโป้งซ้ายกดข้อนิ้วเท้าของผู้ป่วย แล้วเอามือขวาจับนิ้วเท้าของผู้ป่วยแล้วดึงค่อยๆหมุนไปทางซ้ายแล้วหมุนไปทาง ขวาแล้วหมุนกลับมาที่กลางแล้วดันเข้าเสร็จดึงออกมาอีกที (หมายเหตุ)นวดเฉเพาะนิ้วเท้าที่เจ็บจากการล้มหรืออื่นๆ

 

การนวดเคลียร์เส้นหลังและต้นคอด้วยตนเอง


               การนวดเคลียร์เส้นบริเวณต้นคอนั้นจากการที่ผมได้มีโอกาสเรียนรู้จากคุณหมอหวน สังพรามหณ์ และจากการที่ทดลองและประยุกต์ใช้ด้วยตนเองนั้นสามารถทำได้ 2 ท่าครับ คือท่านั่งและท่านอนตะแคง

1. ท่านั่ง

                  ท่าแรกถ้าเกิดเรานั่งอยู่ ก็ให้ก้มหัวลงจนคางเกือบติดกับหน้าอก จากนั้นก็ใช้นิ้วกลาง นิ้วชี้ และนิ้วนางวางเป็นบริเวณที่ใกล้ ๆ กับก้านคอด้านหลังทั้งซ้ายและขวา จากนั้นก็ค่อย ๆ ใช้นิ้วทั้งสามกดลงไปเบา ๆ แล้วก็ค่อย ๆ ดึงหรืออาจจะเรียกว่า "รีด" ก็คือ กดลงไปแล้วก็ค่อย ๆ รีดจากข้างในออกไปข้างนอกครับ




                 รีดข้างซ้ายข้างขวาสลับกันไปสัก 5-10 ครั้ง จากนั้นเราลองสังเกตุว่า เวลาที่เรากดลงไปใกล้ ๆ บริเวณก้านคอนั้นเส้นข้างซ้ายหรือข้างขวา ข้างไหนดึงกว่ากัน หรืออาจจะสังเกตุความเจ็บก็ได้กว่าข้างไหนเมื่อมือเรากดลงไปโดนแล้วเจ็บกว่ากัน ถ้าข้างซ้ายเจ็บมากกว่าก็เคลียร์เส้นข้างนั้นให้มากหน่อยครับ

                 จากนั้นเราก็ค่อย ๆ นวดสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ จากต้นคอให้ไปทั่วศรีษะเลย ข้างใดข้างหนึ่งก่อนก็ได้ หรือจะเน้นข้างที่ปวดมากกว่าก็ได้

                   การนวดศรีษะนี้ก็จะต้องรีดเหมือนกันครับ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดนั้นก็จะต้องรีดออกทั้งสี่ทิศทาง คือ บน ล่าง ซ้าย ขวา รีดให้ทั่ว ๆ หัว โดยอาจจะเริ่มรีดไปทางซ้ายก่อนจนทั่ว จากนั้นก็มารีดไปทางขวา แล้วก็ต่อด้วยรีดขึ้นบนจนทั่วศรีษะแล้วก็มารีดลงล่างจนทั่วศรีษะอีกครั้งหนึ่ง

                   จากนั้นก็ค่อย ๆ มาคลึงที่ขมับเบา ๆ คลึงวนโดยเริ่มต้นจากขมับแล้วค่อย ๆ เรื่อยขึ้นไปจนกระทั่งถึงข้างบนใบหู

                    จากนั้นเราก็ใช้นิ้วกลางมากดบริเวณหว่างคิ้วไว้สักพักหนึ่ง แล้วก็ค่อย ๆ รีดออกไปจนกระทั่งถึงหางตา รีดออกจากระหว่างคิ้วถึงหางตาประมาณ 3-5 ครั้ง จากนั้นก็มาทำแบบเดียวกันที่ข้างล่างตา โดยเริ่มจากใต้เปลือกตาบริเวณที่ติดสันจมูก โดยกดและรีดออกไปบริเวณหางตา 3-5 ครั้งเช่นเดียวกัน


บรรเทาอาการมึนหัวจากน้ำในหูไม่เท่ากัน


                 และถ้าหากใครมีอาการมึนหัวทั้งสองข้างบ่อย ๆ หรือมีปัญหาอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ก็ให้ใช้นิ้วกลางกดที่ใบหูให้สนิท (หรือใช้นิ้วที่มือแรงมากที่สุด) นิ้วใดก็ได้ แต่ที่สำคัญก็คือต้องกดใบหูปิดให้สนิท พยายามไม่ให้มีลมหรือเสียงอะไรเล็ดรอดเข้าไปได้ จากนั้นก็อ้าปากให้กว้างที่สุดแล้วค้างไว้อย่างนั้นประมาณ 5 นาที เวลาอ้าปากก็ให้เงยหน้าขึ้นสักนิดหน่อยครับ จะได้กันน้ำลายไว้ไม่ให้ไหล

                เมื่อครบห้านาทีแล้วก็ค่อย ๆ คลายนิ้วออกจากใบหูแล้วค่อย ๆ หุบปากลง

                 จากนั้นก็ใช้นิ้วมือดึงหูออก ดึงไล่ขึ้นไล่ลงให้ทั่วทั้งใบหูสักสองถึงสามรอบ อาการมึนหัวก็จะโล่งขึ้นมากครับ

                 ที่จริงการเคลียร์เส้นเพื่อให้คลายอาการมึนหัวนี้ จะต้องมีการกดจุดที่บ่าร่วมด้วยอีก 9 จุด ซึ่งสามารถทำด้วยตนเองได้ แต่ก็ต้องใช้อุปกรณ์ซึ่งเป็นไม้กลม ๆ ช่วยด้วยอีกสักนิดหนึ่ง

วิดีโอการนวด






 
 
 
 

จุดคล้ายเส้น

25 จุด หยุดความเครียด


     


25 จุด หยุดความเครียด


 
             ผม พบกับผู้ที่มีปัญหาปวดเมื่อยร่างกายโดยเฉพาะส่วนคอ บ่า และสะบักอยู่เป็นประจำ คนทำงานสำนักงาน นักบริหาร นักวิชาการ เป็นกลุ่มที่มีอาการดังกล่าวอยู่มาก ส่วนใหญ่เกิดจากความเครียดในชีวิตประจำวัน การผ่อนคลายความเครียดด้วยการพักผ่อน ทำใจให้สงบ การออกกำลังกาย หางานอดิเรกทำ จะช่วยให้อาการปวดเหล่านี้ทุเลาลงไปได้มาก แต่บางรายก็เป็นเรื้อรัง จนเส้นบริเวณคอ บ่าและสะบักตึงแข็งมาก การนวดเส้นบริเวณดังกล่าวเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ความเครียดลดลงไปได้
25 จุดหยุดความเครียด เรียบเรียงจากประสบการณ์ในการฝึกอบรมการนวดไทยของโครงการฟื้นฟูการนวดไทย และการนวดคลายเครียดแก่บุคคลในอาชีพต่างๆ ตำแหน่งทั้ง 25 จุด เป็นตำแหน่งที่มักพบว่ามีความตึงเครียดของเส้นอยู่เป็นประจำ การกดนวดทั้ง 25 จุดช่วยลดความเครียดลงได้อย่างน่าพอใจ ท่าในการนวด ให้ผู้ถูกนวดนั่งบนพื้น ผู้นวดนั่งคุกเข่าหรือยืน ถ้านวดชำนาญแล้วอาจให้ผู้ถูกนวดนั่งเก้าอี้ก็ได้เทคนิคการนวด 25 จุด ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือกด โดยค่อยๆเพิ่มแรงกดจนแรงพอที่ทำให้ผู้ถูกนวดรู้สึกปวดหนักๆ แล้วกดนิ่งไว้ประมาณ 10 วินาที หรือนับ 1-10 แล้วค่อยๆ ผ่อนนิ้วมือออก
 
          จุดที่ 1 อยู่ใต้กะโหลกศีรษะ ตรงรอยบุ๋มทางด้านขวา ผู้นวดนั่งคุกเข่าอยู่ทางด้านหลังของผู้ถูกนวด เยื้องไปทางด้านขวาเล็กน้อย ใช้นิ้วหัวแม่มือซ้ายกดจุดที่ 1 สี่นิ้วที่เหลือประคองที่ต้นคอด้านหลัง และใช้มือขวาประคองหน้าผากไว้
 
          จุดที่ 2 อยู่ตรงกลางใต้ท้ายทอย ใช้นิ้วหัวแม่มือซ้ายกดเช่นเดียวกัน
 
          จุดที่ 3 อยู่ใต้กะโหลกศีรษะ ตรงรอยบุ๋มทางด้านซ้าย เปลี่ยนไปใช้นิ้วหัวแม่มือขวากด จุดนี้ผู้นวดควรนั่งเยื้องไปทางด้านซ้ายเล็กน้อย
 
          จุดที่ 4 อยู่ด้านข้างคอต่ำจากจุดที่ 3 ประมาณ 1 นิ้วมือ ใช้นิ้วหัวแม่มือขวากดเช่นกัน
 
          จุดที่ 5 อยู่ด้านข้างคอตรงโคนคอ ต่ำจากจุดที่ 4 ประมาณ 1 นิ้วมือ ใช้นิ้วหัวแม่มือขวากดเช่นกัน
 
          จุดที่ 6 อยู่ตรงส่วนโค้งระหว่างคอกับบ่า ผู้นวดลุกขึ้นยืน แขนเหยียดตรง ใช้นิ้วหัวแม่มือซ้ายกด มือขวาประคองบ่าขวาไว้ ถ้าแรงไม่พออาจใช้ทั้งสองมือช่วยกันกด จุดนี้เป็นจุดที่หลายๆ คนมักมีปัญหา เส้นบริเวณนี้มักตึงมาก
 
          จุดที่ 7 อยู่ตรงกลางบ่า วิธีกดเหมือนจุดที่ 6
          จุดที่ 8 อยู่ตรงรอยบุ๋มก่อนถึงกระดูกบริเวณหัวไหล่ กดเหมือนจุดที่ 7
 
          จุดที่ 9 เป็นจุดเดียวกับจุดที่ 4 แต่อยู่ทางด้านขวา ผู้นวดนั่งคุกเข่าเยื้องไปทางด้านขวาของผู้ถูกนวด ใช้นิ้วหัวแม่มือซ้ายกด
 
          จุดที่ 10 เป็นจุดเดียวกับจุดที่ 5 แต่อยู่ทางด้านขวา กดเหมือนจุดที่ 9
 
          จุดที่ 11 เป็นจุดเดียวกับจุดที่ 6 แต่อยู่ทางด้านขวา ผู้นวดลุกขึ้นยืนแขนเหยียดตรง ใช้นิ้วหัวแม่มือขวากด มือซ้ายประคองบ่าซ้ายไว้
 
          จุดที่ 12 เป็นจุดเดียวกับจุดที่ 7 แต่อยู่ทางด้านขวา กดเหมือนจุดที่ 11
 
          จุดที่ 13 เป็นจุดเดียวกับจุดที่ 8 แต่อยู่ทางด้านขวา กดเหมือนจุดที่ 12
 
          จุดที่ 14,15 อยู่ตรงมุมบนด้านในของกระดูกสะบักทั้งสองข้าง ใช้นิ้วหัวแม่มือขวาและซ้ายกดพร้อมๆกัน แขนเหยียดตรง
 
          จุดที่ 16 อยู่ตรงข้างกระดูกสะบักด้านซ้าย ค่อนไปด้านบนของข้างกระดูก ใช้นิ้วหัวแม่มือขวากดดันเข้าหากระดูกสะบัก
 
          จุดที่ 17 อยู่ข้างกระดูกสะบักด้านซ้าย บริเวณกลางๆ กดเหมือนจุดที่ 16
 
          จุดที่ 18 อยู่ข้างกระดูกสะบักด้านซ้าย ค่อนไปทางด้านล่างของกระดูก กดเหมือนจุดที่ 16
 
          จุดที่ 19 เป็นจุดเดียวกับจุดที่ 16 แต่อยู่ข้างขวา ใช้นิ้วหัวแม่มือซ้ายกดดันเข้าหากระดูกสะบัก
 
          จุดที่ 20 เป็นจุดเดียวกับจุดที่ 17 แต่อยู่ข้างขวา กดเหมือนจุดที่ 19
 
          จุดที่ 21 เป็นจุดเดียวกับจุดที่ 18 แต่อยู่ข้างขวา กดเหมือนจุดที่ 19
 
          จุดที่ 22 อยู่ข้างกระดูกสันหลัง ระดับเดียวกับจุดที่ 17 วิธีกดให้ใช้นิ้วหัวแม่มือซ้ายกดเข้าหากระดูกสันหลัง
 
           จุดที่ 23 อยู่ข้างกระดูกสันหลัง ระดับเดียวกับจุดที่ 20 ใช้นิ้วหัวแม่มือขวากดเข้าหากระดูกสันหลัง
 
            จุดที่ 24,25 อยู่ที่ขมับทั้งสองข้าง ผู้นวดใช้สันมือทั้งสองข้างกดบริเวณขมับพร้อมๆกัน ในจังหวะที่ผู้ถูกนวดหายใจออก แล้วค่อยๆ ผ่อนออก

             เมื่อ กดนวดครบ 25 จุดแล้ว ควรทำซ้ำอีก 3-5 รอบ ใช้เวลาประมาณ 10 นาที ก็เป็นอันเสร็จสิ้นตามวิชาการ ในกรณีที่ผู้ถูกนวดมีอาการตึงของเส้นที่ตำแหน่งใดมากเป็นพิเศษ เราอาจกดนวดซ้ำและใช้เวลากดนานขึ้นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้นวด
ลอง 25 จุดหยุดความเครียดแล้ว จะรู้สึกหัวโล่ง ตาสว่าง มีชีวิตชีวาขึ้น เป็นความสบายที่ทำให้หลายๆคนต้องอดไม่ได้ที่จะต้องลองนวดอีกเมื่อมีความ เครียด ท่านผู้อ่านคิดจะลองฝึกนวดเพื่อช่วยคนที่มีความเครียดซึ่งอยู่ใกล้ตัวท่าน บ้างหรือยังครับ